การพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสังคม

ปัจจุบันการปฎิวัติเพื่อความยั่งยืนเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ อันเนื่องมาจากแรงขับเคลื่อนจากทั้งฝั่งของผู้บริโภคและนักลงทุน (เช่น การจัดอันดับ ESG Rating – Environmental, Social, and Governance)

เทพเทกซ์ก่อตั้งขึ้นภายใต้อุดมการณ์ที่จะผลิตภัณฑ์ที่ดี ดีในที่นี้คือตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการนำไปใช้งาน นอกจากจะไม่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อตัวบุคคล (ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างของบริษัท ลูกค้า คู่ค้า หรือแม้กระทั่งครอบครัวของบุคคลเหล่านี้) ยังต้องไม่กระทบต่อสังคมหรือแม้แต่โลกใบนี้ที่เราทุกคนอาศัยอยู่ร่วมกัน

แนวทางในการดำเนินธรุกิจชองเทพเทกซ์เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสังคม มีดังนี้

น้ำยางธรรมชาติเกิดจากของเหลวสีน้ำนมที่อยู่ในเปลือกของต้นยางพารา (Hevea Brasiliensis) การกรีดต้นยางพาราเพื่อนำน้ำยางออกมานั้น ไม่ได้ทำให้ต้นยางพารานั้นตายไป ในทางกลับกันต้นยางพารายังมีชีวิตต่อเพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อไปได้อีกหลายปี

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกสวนยางพาราที่จะปลูกด้วยวิถีแบบยั่งยืน นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าการปลูกยางพาราเชิงเดี่ยวมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้ทำลายป่า ปริมาณน้ำสำรองที่ลดลง คุณภาพของดิน และความหลากหลายทางชีวภาพ เพราะเหตุนี้เทพเทกซ์จึงเลือกขอรับรอง IFOAM certificate ในกระบวนการปลูกพืชยางพาราแบบเกษตรอินทรีย์ ทั้งนี้เพื่อช่วยผลักดันในเรื่องการรักษาคุณภาพของดิน การรักษาระบบนิเวศ และสุขภาพของมนุษย์บนโลกใบนี้

เทพเทกซ์ ผลิตโฟมยางพาราโดยใช้กระบวนการดั้งเดิมที่เรียกว่า Dunlop Process กระบวนการนี้มีขั้นตอนและความซับซ้อนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับกระบวนการ Talalay Process จึงช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้มากกว่า

ยางพาราที่ผลิตด้วยกระบวนการ Dunlop Process มีความหนาแน่นและตวามยืดหยุ่นมากกว่ายางพาราจากกระบวนการ Talalay Process ห้องปฏิบัติการทดสอบของเทพเทกซ์ได้คัดสรรเฉพาะน้ำยางคุณภาพสูงสุดเพื่อความทนทานที่ดีขึ้น จึงช่วยยืดอายุการใช้งานของที่นอนได้มากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ ที่นอนของเทพเทกซ์จึงสามารถใช้งานยาวนานถึง 20 ปีซึ่งยาวนานกว่าที่นอนทั่วๆไป และช่วยปกป้องทรัพยากรธรรมชาติของโลกใบนี้ด้วย อย่างไรก็ตาม การผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เพียงแต่เครื่องจักรในกระบวนการผลิตเท่านั้น เทพเทกซ์ยังให้ความสำคัญกับขั้นตอนในการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การสรรหาวัตถุดิบจนถึงแผนงานในแต่ละวัน

เทพเทกซ์เล็งเห็นโอกาสในการคิดค้นพัฒนาและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆและรูปทรงแบบอื่นๆจากยางพาราธรรมชาติ นำไปสู่การสร้างความร่วมมือด้านนวัตกรรมกับหลากหลายบริษัทในอุตสาหกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากอุตสากรรมที่นอน เช่น; อุตสาหกรรมรองเท้า ยานยนต์ กีฬา ไลฟ์สไตล์ และบรรจุภัณฑ์

Theptex ECO Institut

ECO Institut

เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทดสอบแล้วว่า มีส่วนประกอบจากยางพาราธรรมชาติไม่น้อยกว่า 95%

Theptex SGS

SGS (no VOC, no SBR)

เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองว่าปราศจากสาร VOC (Volatile Organic Compounds) ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของผู้ใช้งาน

Theptex Green Industry

Green Industry – Sustainability

เป็นอุตสาหกรรมที่ยึดมั่นในการประกอบกิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประกอบกิจการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งภายในและภายนอกองค์กร ตลอดห่วงโซ่อุปทานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยนำน้ำเสียและไอน้ำที่เกิดจากการกระบวนการผลิตเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียและรีไซเคิลเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่

Theptex Organic Thailand

ACT IFOAM

เป็นอุตสาหกรรมที่ผ่านการรับรองโปรแกรม IFOAM โดยสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ หรือ มกท. ใช้ยางพาราจากสวนยางพาราที่ปลูกด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย

Theptex Organic Europe

ACT EU Group

เป็นอุตสาหกรรมที่ผ่านการรับรองโปรแกรม IFOAM ว่ากระบวนการและผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐานตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรป

ACT CANADA PROGRAM

การรับรองผลิตภัณฑ์มาตรฐานจาก COR (Canadian Organic Regime) และในการยอมรับเงื่อนไขของ US-Canada Organic Equivalence Arrangement

นำระบบ Rolling Machine มาใช้เพื่อลดขนาดผลิตภัณธ์ลง ทำให้สามารถขนส่งและเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้จำนวนมากขึ้น

ลดปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์ลง โดยการปรับวิธีการบรรจุให้เหมาะสม

ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลเท่านั้น อยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลองเพื่อหาบรรจุภัณฑ์ใหม่ซึ่งสามารถให้ความคงทนและใช้ทดแทนพลาสติกได้

ตั้งโรงงานผลิตให้อยู่ใกล้กับพื้นที่แหล่งของวัตถุดิบ (ซึ่งก็คือสวนยางพารา) เพื่อลดระยะทางในกระบวนการขนส่ง

ใช้รถยกขับเคลื่อนไฟฟ้า

จัดรถรับส่งพนักงานในพื้นที่ที่สามารถเชื่อมโยงกับระบบขนส่งมวลชนได้

น้ำเสียจากโรงงานจะเข้าสู่กระบวนการบำบัดก่อนจะถูกปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ

ติดตั้งระบบทำนำร้อน โดยใช้ไอน้ำร้อนที่ได้จากกระบวนการอบที่นอน

นำน้ำกระบวนการล้างที่นอนกลับมาใช้ซ้ำ ซึ่งช่วยลดการใช้น้ำในกระบวนการได้ถึง 42%

ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับโรงงานรีไซเคิล เพื่อคัดแยก และนำกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิลให้เหมาะสม

โครงการกระดาษ 3’R: สามารถลดการสร้างขยะกระดาษได้มากกว่า 10%

โครงการ Waste to Energy โดยนำเศษยางพาราที่ไม่สามารถรีไซเคิลมาใช้เป็นพลังงาน

กระบวนการใช้ซ้ำ ตัวอย่างเช่น หน่วยซ่อมพาเลทไม้ในโรงงาน เพื่อซ่อมแซมพาเลทที่ชำรุดเสียหายแล้วนำมาใช้ใหม่

การนำเศษยางพารามาที่ไม่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพมาใช้ในโครงการรีไซเคิล (ตัวอย่างเช่น เบาะรองนั่งหรือหมอนข้างยางพาราจากเศษยางบด)

แนวคิดในการรักษาสภาพภูมิอากาศและการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนเป็นแรงผลักดันให้เกิดการก่อตั้งบริษัทเทพเทกซ์ในปี พ.ศ. 2558 โดยการตระหนักได้ว่าที่นอนเป็นปัญหาร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อถึงคราวต้องกำจัดทิ้ง

ที่นอนทั่วไปซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยชิ้นส่วนแตกต่างกันมักจะมีค่าใช้จ่ายในการรีไซเคิลที่สูงมาก ซึ่งท้ายที่สุดมักจบลงด้วยการฝังกลบทำลาย ที่นอนจึงกลายเป็นมวลขยะขนาดมหึมาที่ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ ทั้งเหล็กจากขดสปริง/ขดลวด ยางพาราสังเคราะห์ เส้นใย และผ้าเป็นต้น โดยกระบวนการกำจัดสามารถทำได้ 2 ทาง คือการรีไซเคิลและการย่อยสลายทางชีวภาพ

ที่นอนยางพาราธรรมชาตินั้นสามารถรีไซเคิลได้ง่ายจึงเป็นทางออกที่สร้างความยั่งยืนได้มากกว่า และมั่นใจได้ว่า ท้ายสุดแล้ว ถึงจะทำลายด้วยการฝังกลบ ที่นอนยางพาราจะสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ

เทพเทกซ์มีความตั้งใจที่จะผลิตผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม และดีต่อสุขภาพของลูกจ้าง ลูกค้า และสังคมที่เราอยู่ โดยการสนับสนุนเรื่องของค่าครองชีพ ครอบคลุมถึงการรักษาด้านสุขภาพ

ประเทศไทยเป็นจุดหมายของแรงงานต่างด้าวในประเทศใกล้เคียง (จากประเทศพม่า กัมพูชา และลาว) อย่างไรก็ตามแรงงานส่วนใหญ่มักจะไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้การเรียกร้องผลประโยชน์ต่างๆทำได้ยาก เทพเทกซ์ได้ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวทุกคนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ได้รับค่าจ้างและสิทธิประโยชน์พื้นฐานอย่างเป็นธรรม

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า (1) ยางพาราธรรมชาติมีปริมาณเนื้อยางลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อทำการฝังกลบไปแล้วเป็นระยะเวลา 3 เดือน

การย่อยสลายของยางพาราธรรมชาติเกิดจากการที่โครงสร้างของเนื้อยางพารามีการหดตัวและเสื่อมสภาพลงในชั้นเซลล์

ทำให้คาดการณ์ว่าการรย่อยสลายของยางพาราธรรมชาติจะใช้เวลา 2-3 ปีจนเสร็จสิ้นกระบวนการ.

(1) อ้างอิง Ramli, Roslim & Amir, M & Augurio, P. (2012). Natural Rubber Latex Foam. Journal of Engineering Science. 8. 15-27.