ยางพาราธรรมชาติกับยางพาราสังเคราะห์
เทพเทกซ์มีความภาคภูมิใจที่เราเป็นหนึ่งในหกบริษัททั่วโลกที่ผลิตยางพารา โดยปราศจากการผสมยางสังเคราะห์ (SBR) ในผลิตภัณฑ์
เทพเทกซ์ให้ความสำคัญในการชี้ให้ลูกค้าเห็นถึงความแตกต่างระหว่างยางพาราธรรมชาติ ยางพาราสังเคราะห์ และยางพาราผสม ดังนั้น เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจจึงจำเป็นต้องกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของยางพารากันสักเล็กน้อย
ที่นอนยางพาราชิ้นแรกของโลกถูกสร้างขึ้นในปี 1930 สองปีหลังจากนักวิทยาศาสตร์ของบริษัทยางล้อรถยนต์ Dunlop ได้ค้นพบวิธีการเปลี่ยนรูปแบบยางพาราจากของเหลวขึ้นเป็นโฟม
ยางธรรมชาติถูกใช้อย่างสิ้นเปลืองไปกับการผลิตยางล้อรถยนต์และอุปกรณ์การทำสงครามในช่วงสงครามโลกทั้งสองครั้ง นักวิทยาศาตร์จึงจำเป็นต้องเร่งคิดค้นวัสดุทดแทนยางพาราธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ ยางพาราสังเคราะห์ ยางพาราที่มีส่วนผสมของปิโตรเลียม หรือแม้กระทั่งยางพาราที่ถูกผลิตขึ้นโดยมนุษย์ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น
อุตสาหกรรมการผลิตที่นอนใช้เวลาไม่นานในการเริ่มนำยางพาราสังเคราะห์มาผสมกับยางพาราธรรมชาติ หรือที่แย่ไปกว่านั้น คือการใช้ยางพาราสังเคราะห์ ’ล้วน’ ในการผลิตที่นอน เหตุผลง่ายๆที่ผู้ผลิตเลือกใช้ยางพาราสังเคราะห์ซึ่งราคาแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับยางพาราธรรมชาติ คือ วิธีการนี้ทำให้กระบวนการผลิตทำได้ง่ายและรวดเร็วกว่า
อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคในปัจจุบันเริ่มหันมาใส่ใจและหาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น ที่นอนยางพาราธรรมชาติ 100% จึงสามารถกลับมาทวงคืนพื้นที่ในห้องนอนของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
โปรดรับชมวีดิโอด้านล่างนี้ Remi (International Sales Manager) จะอธิบายให้คุณเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างยางพาราธรรมชาติและยางพาราสังเคราะห์
ลักษณะเฉพาะ | โฟมยางพาราธรรมชาติ | โฟมยางสังเคราะห์ |
ส่วนประกอบ | สารสกัดจากต้น Hevea-Brasilienis (ยาง) | ปิโตรเคมี (สไตรีนบิวทาไดอีน SBR) |
ผิวสัมผัส | สปริงตัวมาก และรองรับน้ำหนักได้ดี | สปริงตัวน้อย และแน่นทื่อ |
ความทนทาน | 20-25 ปี | น้อยกว่ายางพาราธรรมชาติ ฉีกขาดได้ง่าย |
กลิ่น | กลิ่นยาง คล้ายยางไม้ | กลิ่นสารพิษ |
รูปลักษณ์ | มีร่องรอยความไม่สมบุรณ์จากยางพาราธรรมชาติ | เรียบเนียนเกินจากความเป็นธรรมชาติ |
สี | สีครีมออกงาช้าง อาจเปลี่ยนเป็นสีเหลืองได้ถ้าโดยแสง UV | สีขาวโอโม่ หรือหลากลายสีจากการเติมสารเคมีเติมแต่ง |
การระบายอากาศ | เย็นสบายเพราะเซลล์เปิดจากโครงสร้างยางพาราซึ่งช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดี | ร้อนอับชื้นเพราะ SBR ไม่มีโครงสร้างแบบเปิด อากาศจึงถ่ายเทไม่ได้ |
การย่อยสลาย | ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ | ย่อยสลายไม่ได้ |
สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOC) | ไม่มี | สาร VOC หลากหลายชนิดที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ |
ราคา | ราคาสูง | ราคาถูก |
น้ำหนัก | หนัก | เบา |
คุณสมบัติอื่น ๆ | ป้องกันไรฝุ่น เชื้อรา และแบคทีเรียน | ขึ้นอยู่กับสารเคมีที่ผสม |